• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
 
ข่าวประชาสัมพันธ์
หลงเสน่ห์ เกาะยอ เที่ยววิถีชุมชน หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ CIV
11 พฤษภาคม 2560

     

     กระทรวงอุตสาหกรรม ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสดังกล่าวมาเป็นหัวใจในการสร้างฐานรากชุมชนให้แข็งแกร่งจากข้างในเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนและรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามยุทธศาสตร์ Thailand ๔.๐ ภายใต้กรอบการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมีธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นเรือธงนำหน้า ด้วยการจัดกิจกรรมการพัฒนา “ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ” (Creative Industry Village : CIV ) หรือ   “ หมู่บ้าน CIV ”  ภายใต้โครงการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อให้หมู่บ้าน CIV เป็นหมู่บ้านแห่งความสมดุลที่นำทุนวัฒนธรรม วิถีชีวิต มาผนวกกับความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ เพื่อสร้างมูลค่าใหม่ของสินค้าที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อให้เกิดมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจบนแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

โดยคัดเลือก ๙ ชุมชน ๙ จังหวัด  นำร่องพัฒนาเป็น   “ หมู่บ้าน CIV ”  ดังนี้

1) ชุมชนออนใต้ ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
2) ชุมชนน้ำเกี๋ยน ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน
3) ชุมชนบ้านนาต้นจั่น ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
4) ชุมชนเกาะเกร็ด ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ดจ.นนทบุรี
5) ชุมชนบ้านศาลาดิน ต.มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
6) ชุมชนปากน้ำ ประแส ต.ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง
7) ชุมชนบ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี
8) ชุมชนบ้านนาตีน ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ และ
9) ชุมชนเกาะยอ ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลา
และจะขยายเพิ่มเติมให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีการจำลองรูปแบบและเสน่ห์ของการท่องเที่ยวในแบบวิถีชุมชนภายใต้แนวคิด “ไทย…เที่ยว…เท่…”  สัมผัสเสน่ห์วิถีชุมชนหลากหลาย ด้วยการรวมทรัพยากรของแต่ละชุมชน ทั้งวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ไว้ด้วยกันให้เป็นอัตลักษณ์เพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว
      พื้นที่ชุมชนเกาะยอ  เป็นเกาะเล็กๆ อยู่ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีน้ำทะเลล้อมรอบเกาะยอ  มีสะพานติณสูลานนท์ ( สะพานป๋าเปรม )  เชื่อมต่อทั้ง ๒  ฝั่งเพื่อสะดวกในการสัญจร  เกาะยอจึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์กลางทะเลสาบ  เพราะอุดมไปด้วยอาหารทะเล  และธรรมชาติที่บริสุทธิ์   ชุมชนเกาะยอโดยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพประมง  เกษตรกรรม  และการทอผ้า
     อาชีพประมงจึงถือว่าเป็นอาชีพหลักของชุมชนเกาะยอ  โดยใช้วิถีชีวิตในการจับสัตว์น้ำจากทะเลด้วยเครื่องมือประมงที่สืบทอดกันมา คือ  การดักไซนั่ง  การดักไซนอน  การดักโพงพาง  และการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง  ซึ่งมีรสชาดที่อร่อยที่สุด  เนื่องจากเป็นปลา  ๓  น้ำ  คือ  เป็นปลากะพงขาวที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเลสาบสงขลาทั้งน้ำเค็ม  น้ำจืด  และน้ำกร่อย  จึงทำให้อาหารทะเลมีรสชาดที่อร่อยกว่าที่อื่นๆ  
      อาชีพเกษตรกรรม  ชาวตำบลเกาะยอปลูกทั้งพืชไร่ เช่น  ยางพารา  และพืชส่วน  เช่น  ละมุด ( สวา ) มีรสชาดที่หวาน  กรอบอร่อย  มีศัตรูพืช  คือ แมลงวันทอง  ชาวเกษตรกรตำบลเกาะยอ  จึงใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการกำจัด , จำปาดะขนุน  ที่มีเฉพาะตำบลเกาะยอ  มีลักษณะผิวที่คล้ายกับขนุน  มีกลิ่นที่หอมเหมือนจำปาดะ และมีเนื้อคล้ายจำปาดะ  แต่จะมีเนื้อที่หนากว่า  หวาน และกรอบ ในการดูแลผลผติลให้ปราศจากศัตรูพืช  ชาวเกษตรกรตำบลเกาะยอจึงใช้วิธีสานทางมะพร้าว ที่เรียกว่า  โค๊ระ  หรือ  โผ๊ละ  ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง  เพื่อใช้ห่อหุ้มผลผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช , กระท้อน  จะมีปลูกมากในสายพันธุ์ปุยฝ้ายและอีล่า  มีเนื้อที่หนา  ฟู  ขาว  และหวาน  โดยมีภูมิปัญญาชาวบ้านในการห่อผลผลิตด้วยเครื่องมือการห่อโดยไม่ต้องปืนต้นกระท้องขึ้นไปห่อ  เพียงแค่ใช้ไม้ยิงถุงพลาสติกกับหนังยาง ก็สามารถห่อผลผลิต  และประหยัดเวลา  ซึ่งทำมาจากท่อ PVC  ผลผลิตที่ได้ก็จะนำมาขายภายในชุมชน  แล้วจึงกระจายออกไปสู่ชุมชนภายนอก
     อาชีพทอผ้า  ซึ่งนับวันยิ่งจางหายไป  จึงมีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้า  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอด  ในปัจจุบันกลุ่มทอผ้าที่ได้จัดตั้งมีหลายกลุ่ม  เช่น  กลุ่มทอผ้าราชวัตถ์  ,  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้า , กลุ่มทอผ้าร่มไทร  ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีลายผ้าทอของกลุ่มที่แตกต่างกัน  วัตถุดิบที่แตกต่างกัน  ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาลายผ้า  จึงทำให้เกิดลายใหม่ๆ มากมาย
     ทุกวันนี้ชาวตำบลเกาะยอยังสามารถรักษาเสน่ห์พื้นบ้านไว้เพื่อเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น การล่องเรือประมงนำเที่ยว ขนาดเล็กรอบเกาะยอ เพื่อชมความงามของทะเลสาบสงขลา  การชมพระอาทิตย์ขึ้น  การยกไซนั่ง / โพงพาง  การให้อาหารปลากะพงขาวในกระชัง  และการนั่งรถรางนำเที่ยวเพื่อชมทัศนีย์ธรรมชาติ  การชมพระอาทิตย์ตก ชมวิถีชีวิตการทำประมงพื้นบ้าน  เช่น  การทำไซนั่ง  การทำโพงพาง  การทำกระชังเลี้ยงปลากะพงขาว  ซึ่งเป็นอาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทำให้เกาะยอมีอาหารทะเล สดใหม่  การทำยำสาหร่ายผมนาง  การทำกะปิ ( เคย ) ที่ทำมาจาก เคอย  ซึ่งเป็นกรรมวิธีการถนอมอาหารของชาวใต้  เพื่อใช้ปรุงรสอาหารของภาคใต้  เช่น  แกงส้ม  ผัดเผ็ด  ผัดสะตอกะปิ เกือบจะทุกเมนูอาหารที่ต้องปรุงด้วยกะปิ