การจัดการขยะอันตรายชุมชน
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ขอแนะนำแนวทางการจัดการขยะอันตรายชุมชน
คัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด
คัดแยกขยะอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปตั้งแต่ต้นทาง
การเก็บรวบรวม
- กรณีที่ 1: คัดแยกขยะอันตรายชุมชน 5 ประเภท ลงในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม และเก็บรวบรวมไว้ที่แหล่งกำเนิด รอ อปท. มาเก็บขน กรณี อปท. มีบริการจัดเก็บขยะอันตรายชุมชนจากแหล่งกำเนิด
- กรณีที่ 2: ทิ้งลงถังรองรับหรือจุดแยกทิ้ง (Drop Off) ที่ท้องถิ่นจัดไว้สำหรับทิ้งขยะอันตรายชุมชน
การเก็บขน
- การเก็บขนต้องจัดให้มีภาชนะสำหรับแยกตามประเภทของขยะอันตรายชุมชน
- ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนต้องสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม
การกำจัด
กำจัดโดยวิธีการและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม และเป็นไปตามมาตรฐาน
1. ฝังกลบอย่างปลอดภั*
- หลุมฝังกลบมีการออกแบบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานที่กำหนด
- มีการปรับเสถียรขยะอันตรายชุมชนก่อนการฝังกลบ
- มีการปิดคลุมด้วยวัสดุปิดทับตามมาตรฐานที่กำหนด
2. การเผาในเตาเผา
- ต้องเผามูลฝอยอันตรายชุมชนที่อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 850 °C
- ต้องเผาควันที่อุณหภูมิไม่น้อยกว่า 1,100 °C
ร่วมกันจัดการขยะอันตรายอย่างถูกวิธี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://env.anamai.moph.go.th